:

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บทความเทคโนโลยี2

การใช้งาน DRM ในระดับเอ็นเตอร์ไพรส์

DRM หรือ Digital Right Management เป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์สำหรับผู้ผลิตงานที่เกี่ยวข้อง กับลิขสิทธิ์และผู้ให้บริการผลงานเหล่านั้น เนื่องจากเป็น เทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันการสูญเสียรายได้ อันเกิดจากการลักลอบเผยแพร่หรือดาวน์โหลดผลงานอย่างผิดกฎหมายของผู้ที่ไม่ประสงค์ดี แต่ก็ยัง เป็นเทคโนโลยีที่มีข้อกังขา อยู่มากมายเกี่ยวกับเรื่องของความเป็นธรรมระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณซื้อดีวีดีเพลงของค่ายโซนี่หรือ BMG ที่ถูกลิขสิทธิ์มาสักแผ่นหนึ่ง และไม่ได้คิด อะไรมาก เพียงแค่ต้องการตัดต่อหรือถ่ายโอนโดยเลือกเฉพาะบางเพลงที่ต้องการเพื่อเอาไปใช้ฟังเวลาที่อยู่ในห้องนอน แต่คุณจะพบว่าไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ก็เนื่องมาจากเทคโนโลยี DRM ที่เข้ารหัสแผ่น ดีวีดี เพื่อไม่อนุญาตให้มีการก๊อบปี้ข้อมูลไปยังมีเดียอื่น ๆ หรือเมื่อคุณพยายามที่จะทำสำเนาของแผ่นซีดีเพลงขึ้นมาเป็นไฟล์ MP3 เพื่อนำไปเล่นกับเครื่องเล่น MP3 ในรถ คุณก็พบว่ามีข้อมูลแสดงขึ้นมาว่าคุณ สามารถก๊อบปี้ซีดีแผ่นนี้ได้อีกกี่ครั้ง เป็นต้น
บางคนอาจเห็นว่าข้อจำกัดที่เกิดขึ้นเหมือนเป็นการจำกัดสิทธิในการใช้งานของเขา ทั้งที่จริง ๆ แล้วเขาเองไม่ได้มีจุดประสงค์จะก๊อบปี้ ข้อมูลลิขสิทธิ์เหล่านั้นไปใช้เพื่อการค้าเลย แต่เขาก็ต้องถูกจำกัด สิทธิโดยปริยาย แต่สิ่งหนึ่งที่คุณควรรู้ก็คือ ผู้ผลิตและผู้ให้บริการ รวมไปถึง ผู้พัฒนาเทคโนโลยีต่างก็ ต้องลงทุนเป็นจำนวนมาเพื่อสร้างผลงานและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อที่จะปกป้องผลงานของพวกเขาจากการโจรกรรมหรือการลักลอบเพื่อหาผลประโยชน์จากผลงานที่มีสิขสิทธิ์เหล่านั้นได้ ดังนั้นการใช้เทคโนโลยี DRM เพื่อป้องกันผลงานจึงเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมาย DRM ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ระบบ ที่ป้องกันการ ลักลอบทำสำเนาช้อมูลลิขสิทธิ์เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการหลีกเลี่ยงการสูญเสียเม็ดเงินของผู้ผลิต หรือผู้ให้บริการไปให้กับผู้ที่ ลักลอบเผยแพร่ข้อมูลลิขสิทธิ์ของผู้เขาอย่างผิดกฎหมาย และเป็นความ พยายามที่จะหยุดยั้งวงจรเทปผีซีดีเถื่อนที่กำลังระบาดจนเป็นปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ในทุกวันนี้
องค์กรใดก็ตามที่คิดจะพัฒนาหรือนำเอาโซลูชัน DRM มาใช้งานนั้น ควรจะต้องคำนึงถึงประเด็นสำคัญเหล่านี้ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
ควรเลือกใช้แพลตฟอร์มและการให้บริการที่สนับสนุนเทคโนโลยี DRM ที่หลากหลาย และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี DRM ใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
เทคโนโลยีที่ใช้ควรต้องสนับสนุนรูปแบบหรือประเภทของข้อมูลที่หลากหลาย ทั้งยังต้องสามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งรวมไปถึงข้อมูลเอกสาร (PDF, HTML) ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง (ทั้งแบบสตรีมมิ่งและแบบไฟล์) ข้อมูลวิดีโอ (ทั้งแบบสตรีมมิ่งและแบบไฟล์) ข้อมูลซอฟต์แวร์ ข้อมูลอีเมล และอื่น ๆ
โซลูชันที่เลือควรจะต้องมาพร้อมกับซผฟต์แวร์และ API แบบเปิด เพื่อให้ผู้ให้บริการสามารถใช้ งานร่วมกับโครงสร้างของระบบที่มีอยู่ได้
โซลูชันที่เลือกไม่ควรปิดกันสิทธิ์ของผู้ใช้ในการเลือกใช้งานข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องตามกฎหมายอื่น ๆ
แน่นอนว่า ไม่มีเทคโนโลยีในการเข้ารหัสหรือการป้องกันใดที่จะสามารถป้องกันได้ตลอดไป ดังนั้นเทคโนโลยี DRM จึงต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่ออุดช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้น และค้นหาวิธีการใหม่ ๆ มาแทนที่เพื่อต่อสู้กับการละเมิดลิขสิทธิ์ทุกรูปแบบ ที่มา : Eworld Magazine

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น